ท่านพ่อสุ่น ธมฺมสุวณฺโณ
เดินทางลงเรือหนีไปบางกะสร้อย
นิมนต์ท่านพ่อสุ่นเป็นเจ้าอาวาส
เมื่อกลับมาเป็นเจ้าอาวาส
ฝรั่งเศสยิงไก่
ฝรั่งเศสลูบหัว
เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน
ฝรั่งเศสขโมยพระพุทธรูปต้มน้ำกิน
ชกฝรั่งเศสสลบ
ฝรั่งเศสเชิญไปรักษา
หมาท่านพ่อกัดกับหมาฝรั่งเศส
ไก่กระดูกดำ
หมาที่วัดไปกัดหมูชาวบ้าน
เป็นผู้มีอาคมทางเมตตายิ่งนัก
วาจาประกาศิต
เลือดรักชาติ
ยิงกระสุนโค้ง
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาวัด
เกี่ยวพันกับหลวงพ่ออี๋
โดนเลื่อยล้อเกวียน
นายอุปถัมภ์ลูกศิษย์เอก
บุญบารมีสูงยิ่ง
เป็นผู้มีอำนาจยิ่งนัก
ลูกศิษย์ท่านพ่อไปชลบุรี
กรมหลวงชุมพรเคยมาหา
ลูกศิษย์เป็นเสือ
พิธีปลุกเสกตะกรุดของท่านพ่อสุ่น
พระตะกั่ว
ท่านพ่อสุ่นมรณะภาพ
   

 

 
 

ปากน้ำแหลมสิงห์ในอดีต :: ภาษาของคนปากน้ำแหลมสิงห์

 
 
ภาษาของคนปากน้ำแหลมสิงห์ โรงพักและตำรวจสมัยก่อน หน้าฝนที่แหลมสิงห์ อาชีพเลี้ยงเป็ด
อาหารหลักของเป็ด เล้าเป็ด หน้าหนาว เล่นว่าว ประเพณีการทำบุญกลางทุ่ง

ภาษาเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคนภูมิภาค ซึ่งแตกต่างกัน

ในอดีตที่ผ่าน มักจะรู้สึกอายเมื่อพูดท้องถิ่น แต่ปัจจุบัน ความคิดเปลี่ยนแปลงไป มีการชักชวนให้พูดภาษาท้องถิ่น อนุรักษ์ให้พูดภาษาท้องถิ่น เพื่อมิให้ภาษาเดิมสูญหาย ดังที่จังหวัดเชียใหม่มีกลุ่มรณรงค์พูดภาษาท้องถิ่นที่เรียกว่า “ภาษาเมือง” ทำให้ในปัจจุบันคนเชียงใหม่และคนภาคเหนือนิยมให้ลูกหลานพูดภาษาท้องถิ่นโดยไม่เกิดความรู้สึกอับอาย

ภาษาพูดของชาวจันทบุรีคล้ายกับภาษาพูดของชาวแถบจังหวัดแถบตะวันออกตั้งแต่ชลบุรี ระยอง จันทบุรีและตราด จะแตกต่างจากภาษาไทยกลางที่วิธีการออกเสียงซึ่งฟังดูหนักแน่น จริงจังและมีศัพท์บางคำที่ใช้กันเฉพาะท้องถิ่น สำเนียง พูดฟ้งเข้าใจได้ไม่ยากนัก แต่การเลียนเสียงให้เหมือนค่อนข้างยาก เช่น พยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ ดังคำว่า “ครก” ทางกรุงเทพฯ ออกเสียงตรี แต่คนท้องถิ่นออกเป็น เสียงโท เป็นต้น จอกจากนี้พบว่าสำเนียงในท้องถิ่นต่างๆ ยังมีระดับเสียงต่างกันอีก เช่น สำเนียงท่าใหม่ สำเนียงขลุง สำเนียงแหลมสิงห์และกลุ่มหมู่บ้านตะกาดเง้า บางกะไชย ชำห้าน จะออกสำเนียงคล้ายกับสำเนียงทาง ภาคใต้ (วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัด จันทบุรี กรมศิลปากรจัดพิมพ์, ๒๕๔๔น.๒๐)

ภาษาของคนปากน้ำแหลมสิงห์ ก็มีบางคำที่เป็นภาษาเฉพาะ รวมสำเนียงด้วยนอกเหนือจากมีคำต่อท้ายเหมือนคนทางภาคตะวันออกทั่วไป คือ คำว่า “ฮิ” แล้วยังมีคำอื่นๆอีก โดยเฉพาะประโยคที่เป็นท้องถิ่นที่คนภาคอื่นฟังความหมายไม่รู้เรื่อง คือ คำว่า “ทางมันก็ค่ด ร่ถมันก็ฟั่ด สั้มร่ดยังไม่ทันรั่ด ฟายมันก็ยั่ดเช่ด” แปลว่าได้ว่า ทางคด คือไม่ตรง รถวิ่ง ก็แกว่งหรือโคลง สับปะรดที่ปลูกไว้ยังไม่ทันรัด คือ ไม่ทันได้ฟื้นจาการเพาะชำดีนัก ควายก็มากินเสียหมด

รวมทั้งคำอื่นๆ ซึ่งน่าจะมาบันทึกไว้เด็กรุ่นหลังได้ศึกษา ดังเช่น

บ้านแอบกัน หมายถึง บ้านใกล้กัน
สุยรถ หมายถึง เข็นรถ
ชวั่ด หมายถึง มากมาย เช่น ไปตกปลาได้มาชวั้ด หรือ เมื่อคืนฝน คืนฝนตกหนัก
ฉะหวาด หมายถึง มากมายเช่นกัน เช่น ไปงานทิ้งกระจาดได้ของมาฉะหงาด เป็นต้น
จิ้งโจ้ หมายถึง แมลงปอ
เช่ด หมายถึง หมดเกลี้ยจง แต่หากพูดรวมกับคำอื่น หมายถึง มากมาย เช่น ปลาบานเช่ด หมายถึง ปลามีมากมาย หรือ สวยกว่าเขาเช่ด หมายถึง สวยกว่า คนอื่นมาก
พุ่ก หมายถึง ผุ เช่น ขอนไม้พุ่ก หมายถึง ขอนไม้ผุ
เล่ะ หมายถึง หมวกสานด้วยใบตาล ความหมายเดียวกับ งอบ
   

 











 
วัดปากน้ำแหลมสิงห์ ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
www.watpaknamlaemsing.org Copyright © 2011