ท่านพ่อสุ่น ธมฺมสุวณฺโณ
เดินทางลงเรือหนีไปบางกะสร้อย
นิมนต์ท่านพ่อสุ่นเป็นเจ้าอาวาส
เมื่อกลับมาเป็นเจ้าอาวาส
ฝรั่งเศสยิงไก่
ฝรั่งเศสลูบหัว
เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน
ฝรั่งเศสขโมยพระพุทธรูปต้มน้ำกิน
ชกฝรั่งเศสสลบ
ฝรั่งเศสเชิญไปรักษา
หมาท่านพ่อกัดกับหมาฝรั่งเศส
ไก่กระดูกดำ
หมาที่วัดไปกัดหมูชาวบ้าน
เป็นผู้มีอาคมทางเมตตายิ่งนัก
วาจาประกาศิต
เลือดรักชาติ
ยิงกระสุนโค้ง
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาวัด
เกี่ยวพันกับหลวงพ่ออี๋
โดนเลื่อยล้อเกวียน
นายอุปถัมภ์ลูกศิษย์เอก
บุญบารมีสูงยิ่ง
เป็นผู้มีอำนาจยิ่งนัก
ลูกศิษย์ท่านพ่อไปชลบุรี
กรมหลวงชุมพรเคยมาหา
ลูกศิษย์เป็นเสือ
พิธีปลุกเสกตะกรุดของท่านพ่อสุ่น
พระตะกั่ว
ท่านพ่อสุ่นมรณะภาพ
   

 

 
 

เสียงเจริญพระพุทธมนต์ : โพชฌังคปริตร

 
 
ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น พาหุงมหากา พระคาถาชินบัญชร
มหาเมตตาครอบจักรวาล พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก พระคาถาป้องกันภัยทั้งสิบทิศ มงคลจักรวาลทั้งแปดทิศ
โพชฌงคปริตร แผ่เมตตา    

 

โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
( โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ )

วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
( วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ )

สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
( สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ )

สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
( 7ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว )

ภาวิตา พะหุลีกะตา
( อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว )

สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
( ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน )

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
( ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ )

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
( ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ )

เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา
( ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ
และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก )

โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
( จึงทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง )

เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
( ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม )

โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
( โรคก็หายได้ในบัดดล )

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
( ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ )

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
( ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ )

เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
( ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก )

จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
( รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ )

สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
( ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน )

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
( ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ )

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
( ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ )

ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
( ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง 3 องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก )

มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
( ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา )

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
( ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ )

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ
( ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ ฯ. )


โพชฌังคปริตร ถือเป็นพุทธมนต์ที่ช่วยให้คนป่วยที่ได้สดับตรับฟังธรรมบทนี้แล้วสามารถหายจากโรคภัยไข้เจ็บได้ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะมีเรื่องในพระไตรปิฎกเล่าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปเยี่ยม พระมหากัสสปะ ที่อาพาธ พระองค์ทรงแสดงสัมโพชฌงค์แก่พระมหากัสสปะ พบว่าพระมหากัสสปะสามารถหายจากโรคได้

อีกครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมบทนี้แก่ พระโมคคัลลานะ ซึ่งอาพาธ หลังจากนั้นพบว่า พระโมคคัลลานะก็หายจากอาพาธได้ในที่สุด เมื่อพระพุทธองค์เองทรงอาพาธ จึงตรัสให้ พระจุนทะเถระ แสดงโพชฌงค์ถวาย ซึ่งพบว่าพระพุทธเจ้าก็หายประชวร

พุทธศาสนิกชนจึงพากันเชื่อว่า โพชฌงค์นั้น สวดแล้วช่วยให้หายโรคได้ ซึ่งในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นธรรมเกี่ยวกับปัญญา เป็นธรรมชั้นสูง ซึ่งเป็นความจริงในเรื่องการทำใจให้สว่าง สะอาดผ่องใส ซึ่งสามารถช่วยรักษาใจ เพราะจิตใจมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับร่างกาย เนื่องจากกายกับใจเป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน จึงทำให้หายจากโรคได้

 

 
วัดปากน้ำแหลมสิงห์ ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
www.watpaknamlaemsing.org Copyright © 2011