ท่านพ่อสุ่น ธมฺมสุวณฺโณ
เดินทางลงเรือหนีไปบางกะสร้อย
นิมนต์ท่านพ่อสุ่นเป็นเจ้าอาวาส
เมื่อกลับมาเป็นเจ้าอาวาส
ฝรั่งเศสยิงไก่
ฝรั่งเศสลูบหัว
เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน
ฝรั่งเศสขโมยพระพุทธรูปต้มน้ำกิน
ชกฝรั่งเศสสลบ
ฝรั่งเศสเชิญไปรักษา
หมาท่านพ่อกัดกับหมาฝรั่งเศส
ไก่กระดูกดำ
หมาที่วัดไปกัดหมูชาวบ้าน
เป็นผู้มีอาคมทางเมตตายิ่งนัก
วาจาประกาศิต
เลือดรักชาติ
ยิงกระสุนโค้ง
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาวัด
เกี่ยวพันกับหลวงพ่ออี๋
โดนเลื่อยล้อเกวียน
นายอุปถัมภ์ลูกศิษย์เอก
บุญบารมีสูงยิ่ง
เป็นผู้มีอำนาจยิ่งนัก
ลูกศิษย์ท่านพ่อไปชลบุรี
กรมหลวงชุมพรเคยมาหา
ลูกศิษย์เป็นเสือ
พิธีปลุกเสกตะกรุดของท่านพ่อสุ่น
พระตะกั่ว
ท่านพ่อสุ่นมรณะภาพ
   

 

 
 

เสียงเจริญพระพุทธมนต์ : ทำวัตรเย็น

 
 
ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น พาหุงมหากา พระคาถาชินบัญชร
มหาเมตตาครอบจักรวาล พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก พระคาถาป้องกันภัยทั้งสิบทิศ มงคลจักรวาลทั้งแปดทิศ
โพชฌงคปริตร แผ่เมตตา    

 

คำบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบาน (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง นะมัสสามิ
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว

สังฆัง นะมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

ปุพพภาคนมการ
(นำ) (หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น

อะระหะโต
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทธัสสะ
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (ว่า ๓ จบ)

พุทธานุสสติ
(นำ) (หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)

ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้พุ่งไปแล้วอย่างนี้ว่า

อิติปิ โส ภะคะวา
เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อะระหัง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

สุคะโต
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

โลกะวิทู
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษ ที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

สัตถา เทวะมะนุสสานัง
เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พุทโธ
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วป็ยธรรม

ภะคะวาติ
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมลั่งสอนสัตว์ ดังนี้

พุทธาภิคีติ
(นำ) (หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส)

พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ, มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณ เป็นต้น

สุทธาภิญูาณะกรุณาหิ สะมาคะตัตโต
มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และพระกรุณาอันบริสุทธิ์

โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร
พระองค์ใดทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน, ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน

วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระฐา ชิเนนทัง
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ ผู้ไม่มีกิเลส พระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย

ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น, อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่งด้วยเศียรเกล้า

พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า

พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข,์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญูชีวิตัญูจิทัง
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า

วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตามซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า

นัตถิ เม สะระณัง อัญูญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน
ด้วยการกล่าวคำสัจนี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญูญูง ปะสุตัง อิธะ
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(กราบหมอบลงว่า)

กาเยนะ วาจายะวะ เจตัสา วา
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระพุทธเจ้า

พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป

ธัมมานุสสติ
(นำ) (หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว

สันทิฏฐิโก
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง

อะกาลิโก
เป็นสิงที่ปฏิบิตได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล

เอหิปัสสิโก
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

โอปะนะยิโก
เปนสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญูญหีติ
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

ธัมมาภิคีติ
(นำ) (หันทะ มะยง ธัมมาภิคีตัง กะโรมะ เส )

สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย
พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณคือความที่พระผู้มี พระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น

โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท
เป็นธรรมอันจำแนกเป็น มรรค ผล ปริยัติ และนิพพาน

ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี
เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรมจากการตก ไปสู่โลกที่ชั่ว

วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด

ธัมโ ม โย สัพพะปาณัง สะระณัง เขมะมุตตะมง
พระธรรมใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย

ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า

ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า

ัธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตตัญจิทัง
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตน แด่พระธรรม

วันทันโต (ตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สธัมมะตัง
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน
ด้วยการกล่าวคำสัจนี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(กราบหมอบลงว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม

ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป

สังฆานุสสติ
(นำ) (หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

ยะทิทัง
ได้แก่ บุคคลเหล่านี้ คือ

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐ ะ ปุริสะปุคคะลา
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

ปาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

ทักขิเณยโย
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

อัญูชะลีกะระณีโย
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
เป็นเนื้อนา บุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

สังฆาภิคีติ
(นำ) (หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส)

สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิย ตโต
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม, ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดี เป็นต้น

โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ
เป็นหมู่แห่งพระอริยะบุคคลอันประเสริฐ แปดจำพวก

สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต
มีกายและจิต อันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้น อันบวร

วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง
ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยะเจ้าเหล่านั้นอันบริสุทธิ์ด้วยดี

สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
พระสงฆ์ หมู่ใด เป็นสะระณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย

ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น, อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สามด้วยเศียรเกล้า

สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า

สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์ , และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญูชีวิตัญูจิทัง
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์

วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความปฏิบัติดีของพระลงฆ์

นัตถิ เม สะระณัง อัญูญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ ปัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน
ด้วยการกล่าวคำสัจนี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญูญัง ปะสุตัง อิธะ
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ,์ ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(กราบหมอบลงว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์

สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
ขอพระลงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตง วะ สังเฆ
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป

ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ
(หันทะ มะยัง ปัจฉิมะพุทโธวาทะปาฐัง ภะณามะ เส)

หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า,

วะยะธัมมา สังขารา,
สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา,

อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ,
ท่านทั้งหลาย, จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด.

อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา.
นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้าย, ของพระตถาคตเจ้า.

กรวดน้ำตอนเย็น
อุททิสสะนาธิฎฐานัคาถา
(นำ) หันทะ มะยัง อุททิสสะนาธิฎฐ านะคาถาโย ภะณามะ เส

บทที่ ๑

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยบุญนี้ อุทิศให้
อุปัชฌายา คุณุตตะรา อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ
อาจะริยูปะการา จะ แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน
มาตา ปิตา จะ ญาตะกา ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ
สุริโย จันทิมา ราชา สูรย์จันทร์ แลราชา
คุณะวันตา นะราปิ จะ ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ
พรหมะมารา จะ อินทา จะ พรหมมาร และอินทราช
โลกะปาลา จะ เทวะตา ทั้งทวยเทพ และโลกบาล
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ ยมราช มนุษย์มิตร
มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ ผู้เป็นกลาง ผู้จ้องผลาญ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ขอให้ เป็นสุขศานติ์ ทุกทั่วหน้า อย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ ปะกะตานิ เม บุญผอง ที่ข้าทำ จงช่วยอำ นวยศุภผล
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ให้สุข สามอย่างล้น
ขิปปัง ปาเปถะ โวมะตัง ให้ลุถึง นิพพานพลัน

บทที่ ๒

เย เกจิ ขุททะกา ปาณา สัตว์เล็ก ทั้งหลายใด
มะหันตาปิ มะยา หะตา ทั้งสัตว์ใหญ่ เราห้ำหั่น
เย จาเนเก ปะมาเทนะ มิใช่น้อย เพราะเผลอพลัน
กายะวาจามะเนเหวะ ทั้งกายา วาจาจิต
ปุญญัง เม อะนุโมทันตุ จงอนุโม ทนากุศล
คัณหันตุ ผะละมุตตะมัง ถือเอาผล อันอุกฤษฏ์
เวรา โน เจ ปะมุญจันตุ ถ้ามีเวร จงเปลื้องปลิด
สัพพะโทสัง ขะมันตุ เม อดโทษข้า อย่าผูกไว้

บทที่ ๓

ยังกิญจิ กุสะลัง กัมมัง กุศลกรรม อย่างใดหนึ่ง
กัตตัพพัง กิริยัง มะมะ เป็นกิจซึ่ง ควรฝักใฝ่
กาเยนะ วาจามะนะสา ด้วยกาย วาจาใจ
ติทะเส สุคะตัง กะตัง เราทำแล้ว เพื่อไปสวรรค์
เย สัตตา สัญญิโน อัตถิ สัตว์ใด มีสัญญา
เย จะ สัตตา อะสัญญิโน หรือหาไม่ เป็นอสัญญ์
กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง ผลบุญ ข้าทำนั้น
สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต ทุก ๆ สัตว์ จงมีส่วน
เย ตัง กะตัง สุวิทิตัง สัตว์ใดรู้ ก็เป็นอัน
ทินนัง ปุญญะผะลัง มะยา ว่าข้าให้ แล้วตามควร
เย จะ ตัตถะ นะ ชานันติ สัตว์ใด มิรู้ถ้วน
เทวา คันตวา นิเวทะยุง ขอเทพเจ้า จงเล่าขาน
สัพเพ โลกัมหิ เย สัตตา ปวงสัตว์ ในโลกีย์
ชีวันตาหาระเหตุกา มีชีวิต ด้วยอาหาร
มะนุญญัง โภชะนัง สัพเพ จงได้ โภชน์สำราญ
ละภันตุ มะมะ เจตะสา ตามเจตนา ข้าอาณัติ

บทที่ ๔

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยบุญนี้ ที่เราทำ
อิมินา อุททิเสนะ จะ แลอุทิศ ให้ปวงสัตว์
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ เราพลันได้ ซึ่งการตัด
ตัณหุปาทานะเฉทะนัง ตัวตัณหา อุปาทาน
เย สันตาเน หินา ธัมมา สิ่งชั่ว ในดวงใจ
ยาวะ นิพพานะโต มะมัง กว่าเราจะ ถึงนิพพาน
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ มลายสิ้น จากสันดาน
ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว ทุก ๆ ภพที่เราเกิด
อุชุจิตตัง สะติปัญญา มีจิตตรง และสติ ทั้งปัญญา อันประเสริฐ
สัลเลโข วิริยัมหินา, พร้อมทั้ง ความเพียรเลิศ เป็นเครื่องขูด กิเลสหาย
มารา ละภันตุ โนกาสัง โอกาส อย่าพึงมี แก่หมู่มาร สิ้นทั้งหลาย
กาตุญจะ วิริเยสุ เม เป็นช่อง ประทุษร้าย ทำลายล้าง ความเพียรจม
พุทธาทิปะวะโร นาโถ พระพุทธผู้ บวรนาถ
ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม พระธรรมที่ พึ่งอุดม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ พระปัจเจ กะพุทธสม-
สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง ทบพระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง
เตโสตตะมานุภาเวนะ ด้วยอา นุภาพนั้น
มาโรกาสัง ละภันตุ มา ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง
ทะสะปุญญานุภาเวนะ ด้วยเดชบุญ ทั้งสิบป้อง
มาโรกาสัง ละภันตุ มา อย่าเปิดโอ กาสแก่มาร (เทอญ)

 

 
วัดปากน้ำแหลมสิงห์ ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
www.watpaknamlaemsing.org Copyright © 2011