ท่านพ่อสุ่น ธมฺมสุวณฺโณ
เดินทางลงเรือหนีไปบางกะสร้อย
นิมนต์ท่านพ่อสุ่นเป็นเจ้าอาวาส
เมื่อกลับมาเป็นเจ้าอาวาส
ฝรั่งเศสยิงไก่
ฝรั่งเศสลูบหัว
เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน
ฝรั่งเศสขโมยพระพุทธรูปต้มน้ำกิน
ชกฝรั่งเศสสลบ
ฝรั่งเศสเชิญไปรักษา
หมาท่านพ่อกัดกับหมาฝรั่งเศส
ไก่กระดูกดำ
หมาที่วัดไปกัดหมูชาวบ้าน
เป็นผู้มีอาคมทางเมตตายิ่งนัก
วาจาประกาศิต
เลือดรักชาติ
ยิงกระสุนโค้ง
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาวัด
เกี่ยวพันกับหลวงพ่ออี๋
โดนเลื่อยล้อเกวียน
นายอุปถัมภ์ลูกศิษย์เอก
บุญบารมีสูงยิ่ง
เป็นผู้มีอำนาจยิ่งนัก
ลูกศิษย์ท่านพ่อไปชลบุรี
กรมหลวงชุมพรเคยมาหา
ลูกศิษย์เป็นเสือ
พิธีปลุกเสกตะกรุดของท่านพ่อสุ่น
พระตะกั่ว
ท่านพ่อสุ่นมรณะภาพ
   

 

 
 

วัตถุมงคลของท่านพ่อสุ่น

 
 

วัตถุมงคลของท่านพ่อสุ่น จะแยกออกเป็น 2 ตอน คือ
1. วัตถุมงคลที่สร้างสมัยท่านมีชีวิตอยู่
2. วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นหลังจากท่านมรณะภาพแล้ว

วัตถุมงคลที่สร้างสมัยท่านมีชีวิตอยู่

ตะกรุด

ตะกรุดท่านพ่อสุ่น เท่าที่สืบเสาะค้นคว้ามาเป็นเวลาหลายปีและจากการสอบถามลูกศิษย์ท่านโดยใกล้ชิดพอจะแยกออกดังนี้ ตะกรุด 3 กษัตริย์ ซึ่งนับว่าหายากมาก และตะกรุด 3 กษัตริย์ นี้ ยังแยกออก 3 แบบ คือ

- แบบ 3 กษัตริย์ เป็น ทอง, นาค, เงิน 3 ดอกเรียงกันและหนักดอกละ 1 บาท ผู้ที่จะมีตะกรุด
นี้จะต้องเป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด และจะต้องมีเงินสมัยก่อน เพราะจะต้องนำแผ่นเงิน, นาค, ทอง ที่รีดแล้วมาให้ท่านๆถึงจะทำให้ แต่ของเสือจ๋ายท่านเป็นผู้ทำให้เอง

- แบบ 3 กษัตริย์ ในดอกเดียวกัน คือ 3 ชั้น ในดอกเดียวกัน ตะกรุดชนิดนี้พบเห็นไม่บ่อย
นักเท่าที่เห็น ชั้นนอกเป็นเงิน ชั้น 2 ทองแดง ชั้น 3 ทองเหลือง หรือบางที ชั้นนอกเป็นตะกั่ว ชั้น 2 บางดอกก็เป็นทองเหลืองหรือทองแดงไม่แน่ ชั้น 3 ทองแดงหรือบางทีก็เป็นทองเหลือง คือกลับกันก็มี

- ตะกรุดโทนเนื้อตะกั่ว เป็นตะกรุดดอกเดียว เท่าที่พบเห็นจะเอาความยาวเป็นมาตรฐานไม่ได้ และตะกรุดชนิดนี้มีกันมาก ส่วนมากตะกรุดโทนท่านพ่อนี้มักจะไม่ค่อยถักเชือกหุ้มเป็นส่วนมาก เมื่อผู้ใดได้ทำตะกรุดของท่านที่บรรจุพุทธคุณให้แล้ว และเป็นคนรักสวยรักงามหน่อยก็จะให้คนที่มีฝีมือถักให้เพื่อความสวยงามแล้วใช้น้ำมันยางมั่ง รักมั่ง ทาทับอีกทีหนึ่งแต่พบน้อยมากเพราะส่วนมากจะไม่ถักกัน ตะกรุดชนิดนี้เคยมีผู้ทดลองยิงปืนแตกถูกหน้าตาบาดเจ็บมาแล้ว ตะกรุดพวงหรือตะกรุดชุด ตะกรุดชนิดนี้มีลักษณะเป็นพวง พวงละ 3 ดอกบ้าง 7 ดอกบ้าง 9 ดอกบ้าง แต่ที่เห็นพวงที่สมบูรณ์มักไม่ค่อยมี มักจะขาดหายไปไม่ครบ ภาพที่ถ่ายนี้เป็นพวงที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นของนายผลิ เนินริมหนอง เป็นตะกรุดพวงชนิด 7 ดอก มีใหญ่ 3 ดอก กลาง 2 ดอก ดอกเล็ก 1 ดอก ดอกจิ๋ว 1 ดอก ยาวประมาณศอกกว่าเมื่อวางเรียงกัน

อภินิหารพระตะกั่วท่านพ่อสุ่น

พิมพ์ปิดตามหาอุด หลังนะนายแบ๊ว อุดมเวช อยู่หมู่บ้านคลองกลอย ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี นายแบ๊ว สมัยบวชเป็นพระมีพระอาจารย์เฮ้าเป็นเจ้าอาวาส พระแบ๊วเป็นคนที่พระอาจารย์เฮ้าชอบใช้ให้บีบนวดเป็นประจำ วันหนึ่งเมื่อบีบนวดจนพระอาจารย์เฮ้าหลังลงแล้ว ก็ถือโอกาสเข้าไปในห้องของท่าน เมื่อเดินดูนั่น ดูนี่จนทั่วก็มองเห็นพระตะกั่ววางไว้ในพานทองเหลืองขนาดกลางเกือบครึ่งจาน (คงเป็นพระที่ตกค้างมาสมัยท่านพ่อสุ่น และทางวัดเก็บรักษาเอาไว้) ด้วยความที่เห็นว่าพระมากและกะว่าต้องเป็นพระเก่าจึงหยิบมา 6 - 7 องค์ เมื่อมาดูก็เห็นพระเป็นรูปต่างๆ ใหญ่บ้างเล็กบ้าง จึงนำกลับมาไว้ที่ห้องของตนเอง วันหนึ่งนึกคะนองขึ้นมาจึงใช้ให้เด็กวัดไปหาปลาช่อนมาหนึ่งตัว เมื่อเด็กวัดนำปลาช่อนมาให้ จึงอาราธนาพระตะกั่วใส่ปากปลาช่อนและให้เด็กวัดไปหามีดมา เด็กวัดก็ไปเอามีดหั่นหยวกมาให้ พระแบ๊วจึงใช้มีดหั่นหยวกฟันปลาช่อนตัวนี้ แต่ช่างประหลาดแท้ คมมีดหาไม่ระคายผิวปลาช่อนไม่ พาลนึกไปว่าตัวเองคงฟันไม่แรง แต่เรื่องที่มีดหั่นหยวกจะไม่คมคงเป็นไปไม่ได้ เพราะมีดหั่นหยวกชาวบ้านใช้หั่นหยวกอยู่ทุกวันก็ต้องคมกริบอยู่เสมอ จึงฟันไปอีกก็ฟันไม่เข้า ฟันอีก 5 - 6 ครั้ง ก็ไม่เข้า จึงนำพระออกจากปากปลาช่อนตัวนั้นและใช้ให้เด็กวัดพาไปปล่อยน้ำ และตั้งแต่นั้นมาถ้าพระอาจารย์เฮ้าใช้ให้บีบนวดและหลับลง พระแบ๊ว จะต้องเข้าไปเอาพระตะกั่วในห้องทุกครั้ง เพราะเห็นกับตาตัวเองว่า ฟันปลาช่อนไม่เข้า และเมื่อสึกพระออกมา นำพระทั้งหมด 30 กว่าองค์กลับบ้านด้วย จนมามีเมีย และต่อมาเมียก็จะคลอดลูก คลอดก็ไม่ยอมออกง่ายๆ หมอตำแยจึงถามว่า ในบ้านมีพระมหาอุตต์หรือเปล่า ถ้ามีก็ให้เอาไปไว้ที่อื่นก่อน นายแบ๊วจึงนึกถึงพระตะกั่วที่เอามาจากวัดปากน้ำได้ จึงหยิบจากหิ้งพระลงมาและนั่งเลือกดู เห็นพระปิดตา ปิดทวาร อยู่ 2 - 3 องค์ ก็เลือกออกมา แล้วนำไปไว้ที่ต้นมะพร้าวหน้าบ้าน โดยที่มะพร้าวต้นนั้นไม่สูงมากนักจึงปีนขึ้นไปเอาไว้ โคนทางมะพร้าว กะว่าพอเมียคลอดลูกเสร็จแล้วจะมาเอากลับไป แต่เมื่อเมียคลอดลูกแล้วนายแบ๊วก็ลืม จนต่อมามีชาวบ้านไล่ยิงนก และนกตัวนั้นได้บินหนีมาเกาะต้นมะพร้าวหน้าบ้านต้นที่ลืมพระนั้น ชาวบ้านคนนั้นเมื่อเห็นนกเกาะจึงใช้ปืนยิง ปืนก็ยิงไม่ออก เปลี่ยนลูกใหม่ปืนก็ยิงไม่ออกอีก จนนกตัวนั้นบินหนีไป ชาวบ้านคนนั้นเมื่อเจอนายแบ๊วจึงถามว่ามะพร้าวต้นหน้าบ้านมีอะไรดีปืนถึงยิงไม่ออก นายแบ๊วได้ยินดังนั้นจึงนึกถึงพระตะกั่วที่ลืมไว้บนต้นมะพร้าว หาไม่เจอนายแบ๊วก็หยุดหา แต่ก็ยังอุ่นใจที่ว่า พระยังอยู่เพราะเอามาหลายองค์ นายแบ๊วเมื่อไปต่างถิ่นไกลบ้านก็พกพระตะกั่วติดตัวไปด้วย เมื่อมีเรื่องตีรันฟันแทงกันก็หลุดรอดมาได้ทุกครั้ง เรียกว่าแมลงวันไม่ได้กินเลือดจนคนพากันเรียกว่า นายแบ๊วหนังเหนียว เรื่องนี้นายแบ๊วยืนยันได้

ดังนั้น พุทธคุณพระตะกั่วของท่านจึงมั่นใจได้ว่าสามารถใช้คุ้มครองชีวิตได้ เรื่องพระตะกั่วท่านพ่อสุ่นนี้ คนรุ่นปู่ รุ่นพ่อ มีประสบการณ์กันมากมาย ไปทหารพกพระของท่านไปก็รอดกลับมาทุกคน บางคนใช้ตะกรุด, ผ้ายันต์, เสื้อยันต์ ก็ไม่ขวนขวายหาพระตะกั่วกัน เพราะของท่านเหมือนกันทุกอย่าง คือ สามารถคุ้มครองชีวิตได้เรื่องพระตะกั่วนี้ถ้าคนรุ่น ปู่, รุ่นพ่อ, ตายลง และไม่ได้สั่งว่าพระตะกั่วนี้เป็นของท่านพ่อสุ่น เด็กรุ่นลูกรุ่นหลานก็จะไม่รู้จัก เรียกว่ามีของดีอยู่กับบ้านแล้วไม่รู้จักใช้ แต่ถ้าบ้านไหนที่รู้เพราะคนรุ่นปู่,รุ่นพ่อ สั่งเอาไว้ก็จะหวงแหนยิ่งนัก ถ้าผู้ใดมีไว้โดยเฉพาะคนแถบบางกะสร้อย เมืองชล จะมีกันมากเพราะสมัยนั้นมาหาท่านบ่อยๆ โดยให้อาราธนาพระของท่านใช้ติดตัวรับรองว่า แขวนไว้แล้วไม่หนักคอเปล่าๆ พระตะกั่วท่านพ่อสุ่นนี้ชาวบ้านปากน้ำแหลมสิงห์รุ่นหลังทุกๆวันนี้ เมื่อมีรูปเหรียญท่านก็รู้สึกพอใจกันแล้ว และเหรียญของ ท่านพ่อ พระอาจารย์เฮ้าก็สร้างขึ้นมามิใช่น้อยๆเป็นสิบรุ่น แต่ละรุ่นเป็นพันเป็นหมื่นเหรียญ เรียกว่ามีทุกบ้านเรือน บ้านละเป็นสิบองค์ เลยดูว่าพระรุ่นใหม่บังพระรุ่นเก่าไป

ผ้ายันต์

ผ้ายันต์ของท่านจะเป็นแบบเขียนทุกผืน มีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน มีทั้งสีขาวและสีแดง และอย่างที่ใช้คลุมถึงเข่าก็มี ส่วนมากผ้ายันต์ของท่านทุกผืน มักจะไม่ขาดรูปสิงห์

เชือกคาดแขน

ลักษณะขวั้นเป็นวงกลมตรงกลางมีหัวแบบหัวแหวนพิรอดถักลงรักไว้ ลูกศิษย์ที่รู้การสร้าง เล่าว่าตรงหัวแหวนจะมี ทอง, นาค, เงิน ฝังไว้แล้วขวั้นผ้าทับไว้ พุทธคุณในทางคงกระพันชาตรียอดเยี่ยมยิ่งนัก

สีผึ้งท่านพ่อสุ่น

สีผึ้งของท่านมีอยู่ 2 สี คือ สีดำขนานเอก รองลงมาคือสีลายหรือสีเนื้อ สีผึ้งของท่าน จะหุงภายในโบสถ์หน้าองค์พระประธาน ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเล่าว่า ภาชนะที่ท่านใช้หุงเป็นกระโถนเขียวเคลือบดอกแดง ท่านจะหุงและปลุกเสกตลอด 3 พรรษา พุทธคุณสีผึ้งของท่านเมตตามหานิยมยิ่งนัก แม้เข้าเจ้าเข้านายก็เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป เรื่องสีผึ้งของท่านชาวบ้านในแหลมสิงห์รู้จักกันดีทุกคน และเป็นของหายากมาก ผู้ใดได้ไว้ต่างก็หวงแหนยิ่งนัก พระอาจารย์เฮ้ามีสีผึ้งของท่านพ่ออยู่ 1 ตลับ และแทบจะพูดได้ว่า ท่านพระอาจารย์เฮ้าสร้างวัดปากน้ำแหลมสิงห์สง่างามได้ทุกวันนี้เพราะพุทธคุณสีผึ้งท่านพ่อโดยแท้ เดินทางไปหาเงินทองมาสร้างวัดหามีผู้ขัดไม่ ทุกคนพากันเรียกพระอาจารย์เฮ้าว่า "สาริกาลิ้นทอง" เรื่องนี้ท่านก็รู้กันดี และสีผึ้งของท่านจะหาชมได้ยากยิ่ง

รอยเท้า

เป็นรอยเท้าท่านที่ประทับไว้ในผ้าขาว เหตุที่มีรอยเท้าท่านขึ้น เพราะว่าท่านพ่อสุ่น ท่านเป็นพระที่คนนับถือกันมาก เมื่อมีคนทำคนแรกคือเอาสีมาป้ายทาเท้าท่านแล้วก็ใช้ผ้ากดทับรอยเท้าท่าน และพอได้ไป นำไปอวดคนอื่นหรือรู้เข้า คนที่ยังไม่มีก็หาสีมาป้ายเท้าท่านและนำไปใช้มั่ง รอยเท้าท่านพ่อมีไม่มากนัก เรื่องพุทธคุณนี้ไม่ต้องห่วง

สิงห์

สิงห์ท่านพ่อสุ่น นี้จากการค้นคว้ามีน้อยมาก และสิงห์ของท่านมีพุทธคุณมหาอำนาจยิ่งนัก เพราะเป็นของที่ทำไว้น้อย เท่าที่พบมี 2 แบบ คือเป็นแผ่นเนื้อคล้ายสำริด และเป็นรูปสิงห์ที่หลอมโดยตะกั่ว โดยนำเอาตะกั่วที่เหลือจากการสร้างพระและตะกรุดมาทำ ผู้ใดมีไว้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองยิ่งนัก

 

 
วัดปากน้ำแหลมสิงห์ ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
www.watpaknamlaemsing.org Copyright © 2011