ท่านพ่อสุ่น ธมฺมสุวณฺโณ
เดินทางลงเรือหนีไปบางกะสร้อย
นิมนต์ท่านพ่อสุ่นเป็นเจ้าอาวาส
เมื่อกลับมาเป็นเจ้าอาวาส
ฝรั่งเศสยิงไก่
ฝรั่งเศสลูบหัว
เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน
ฝรั่งเศสขโมยพระพุทธรูปต้มน้ำกิน
ชกฝรั่งเศสสลบ
ฝรั่งเศสเชิญไปรักษา
หมาท่านพ่อกัดกับหมาฝรั่งเศส
ไก่กระดูกดำ
หมาที่วัดไปกัดหมูชาวบ้าน
เป็นผู้มีอาคมทางเมตตายิ่งนัก
วาจาประกาศิต
เลือดรักชาติ
ยิงกระสุนโค้ง
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาวัด
เกี่ยวพันกับหลวงพ่ออี๋
โดนเลื่อยล้อเกวียน
นายอุปถัมภ์ลูกศิษย์เอก
บุญบารมีสูงยิ่ง
เป็นผู้มีอำนาจยิ่งนัก
ลูกศิษย์ท่านพ่อไปชลบุรี
กรมหลวงชุมพรเคยมาหา
ลูกศิษย์เป็นเสือ
พิธีปลุกเสกตะกรุดของท่านพ่อสุ่น
พระตะกั่ว
ท่านพ่อสุ่นมรณะภาพ
   

 

 
 

ประวัติท่านพ่อสุ่น ธมฺมสุวณฺโณ :: ท่านพ่อสุ่นเป็นผู้มีอาคมทางเมตตายิ่งนัก

 
 

หน้าวัดของท่านสมัยก่อนมีต้นยางอยู่หน้าวัด 3 ต้น ต้นยาง 3 ต้นนี้ นกเขาป่าจะพากันมาเกาะตอนเช้าๆ เป็นจำนวนมากและท่านพ่อท่านก็ชอบนกเขาอยู่แล้ว ท่านชอบมาแต่ครั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าแหวน ท่านพ่อตอนเช้าๆ ท่านจะลงมายืนหน้าต้นยาง และดีดนิ้วเรียกนกเขาป่าที่เกาะต้นยาง นกเขาป่าเหล่านั้นก็จะบินโผลงมาเกาะที่ตัวท่านและจะเกาะอยู่นาน และพอท่านพูดว่า " ไปเสีย" นกเขาเหล่านั้นก็จะบินไปทันที แสดงถึงอำนาจทางพุทธคุณของท่านว่าเมตตายอดเยี่ยมยิ่งนัก และนกเขาของท่านที่เลี้ยงไว้หลายตัวในวัด และมีตัวหนึ่งชื่อว่า " ไอ้กะเชอวาง " และเหตุที่ได้ชื่อนี้เพราะว่าสมัยนั้นมีแม่ค้าคนหนึ่งกระเดียดกะเชอ (กะเชอคงมีลักษณะเป็นกะโล่ไม้ไผ่) ใส่ผักจะไปขายที่ตลาด และทางจะไปตลาดนั้นต้องผ่านหน้าวัดทุกวัน นกเขาตัวนี้เมื่อเห็นแม่ค้าเดินผ่านมา (เพราะท่านเลี้ยงไว้หน้าวัด) ก็จะดูและขันขึ้น แม่ค้าคนนี้เมื่อได้ยินเสียงนกเขาตัวนี้ขันก็จะวางกระเชอที่กระเดียดใส่เอววางลง และยืนฟังนกเขาตัวนี้ขันจนกว่าจะหยุดขัน แกจึงจะกระเดียดกระเชอไปขายผักต่อไป เป็นอยู่อย่างนี้ทุกวันซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก เพราะผู้หญิงจะมายืนฟังนกเขาขันอย่างเดียวคงเป็นไปไม่ได้ และเป็นแม่ค้าก็ต้องรีบไปขายผักอยู่แล้ว คิดว่าท่านพ่อสุ่น ท่านคงจะลงอาคมทางเมตตาของท่านเอาไว้ที่นกเขาตัวนี้เป็นแน่ เพราะนกเขาตัวนี้ท่านรักของท่าน เสกข้าว เสกน้ำให้กินทุกวัน พวกลูกศิษย์จึงพากันเรียกนกเขาตัวนี้ว่า "ไอ้กระเชอวาง" ตั้งแต่นั้นมา

อ่านต่อ วาจาประกาศิต >>

 
วัดปากน้ำแหลมสิงห์ ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
www.watpaknamlaemsing.org Copyright © 2011