ท่านพ่อสุ่น ธมฺมสุวณฺโณ
เดินทางลงเรือหนีไปบางกะสร้อย
นิมนต์ท่านพ่อสุ่นเป็นเจ้าอาวาส
เมื่อกลับมาเป็นเจ้าอาวาส
ฝรั่งเศสยิงไก่
ฝรั่งเศสลูบหัว
เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน
ฝรั่งเศสขโมยพระพุทธรูปต้มน้ำกิน
ชกฝรั่งเศสสลบ
ฝรั่งเศสเชิญไปรักษา
หมาท่านพ่อกัดกับหมาฝรั่งเศส
ไก่กระดูกดำ
หมาที่วัดไปกัดหมูชาวบ้าน
เป็นผู้มีอาคมทางเมตตายิ่งนัก
วาจาประกาศิต
เลือดรักชาติ
ยิงกระสุนโค้ง
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาวัด
เกี่ยวพันกับหลวงพ่ออี๋
โดนเลื่อยล้อเกวียน
นายอุปถัมภ์ลูกศิษย์เอก
บุญบารมีสูงยิ่ง
เป็นผู้มีอำนาจยิ่งนัก
ลูกศิษย์ท่านพ่อไปชลบุรี
กรมหลวงชุมพรเคยมาหา
ลูกศิษย์เป็นเสือ
พิธีปลุกเสกตะกรุดของท่านพ่อสุ่น
พระตะกั่ว
ท่านพ่อสุ่นมรณะภาพ
   

 

 
 

ประวัติท่านพ่อสุ่น ธมฺมสุวณฺโณ :: พระตะกั่ว

 
 

 

พระตะกั่วหลวงพ่อสุ่น นี้เป็นพระตะกั่วที่สร้างขึ้นมาโดยลูกพระในวัดแกะ พิมพ์ขึ้นมาเป็นพระที่มีหลายแบบ หลายพิมพ์ อายุสร้างประมาณอย่างต่ำๆ อยู่ในระหว่าง พ.ศ. 2450 กว่าๆ ควบไปจนถึง พ.ศ. 2470 แกะพิมพ์โดยใช้หินมีดโกนแกะทำพิมพ์ขึ้นมา และที่ตะกั่วที่ใช้เทนั้นจะต้องหลอมไล่ขี้ตะกั่วออกเสียก่อน เมื่อไล่ขี้ตะกั่วออกหมดแล้วก็จะหลอมเทลงในพิมพ์ที่แกะขึ้น เมื่อเสร็จแล้วก็นำมาถวาย ให้ท่านจารและปลุกเสกให้ ช่วงแรกๆ การสร้างพระน้อยท่านก็จารเพียงองค์เดียว แต่ทำมากๆ เข้า ท่านก็ให้ท่านพ่อ "ปาน" ซึ่งเป็นเพื่อนของท่านและมาจากวัดบางสระเก้าด้วยกันช่วยจารให้ และการปลุกเสกท่านจะทำพิถีพิถันมาก เรียกว่าท่านต้องมั่นใจแล้วว่าดีจริง ท่านถึงจะอนุญาตให้เอาไปได้ ชาวบ้านคนไหนมาหาท่าน ท่านก็ให้ไปหยิบพระในถาดมาแล้วท่านก็จะมอบให้ ผู้ใดจะเอา 5 - 6 องค์ อ้างว่าเอาไปฝากคนทางบ้านท่านก็ไม่ว่า ที่มาไกลๆ หน่อยมาหาท่านและขอของดีจากท่าน ท่านก็ให้หยิบพระตะกั่วไปชนิดที่ว่าพอใจจะเอา พอพระตะกั่วนี้หมดจากถาด ลูกพระในวัดก็จะช่วยกันทำขึ้นมาใหม่อีก บางทีพิมพ์ใหม่ใช้ได้ก็ใช้กันต่อไป พระลูกวัดพอหล่อพระเสร็จก็นำมาใส่ถาดถวายไว้ให้จารและปลุกเสกให้ พระของท่านพ่อจึงมีไม่ใช่น้อยๆ เพราะสมัยนั้นใครๆ ก็เคารพนับถือท่าน เมื่อผู้ใดมาที่วัดและได้พระตะกั่วไป และไปพูดอวดคนที่ยังไม่ได้คนที่ยังไม่ได้ก็จะพากันมาเอา เพราะลงว่าท่านปลุกเสกและจารให้ เรื่องพุทธคุณนั้นคงไม่ต้องบรรยายกันมาก และก็มีเหมือนกันที่ชาวบ้านบางคนคงจะมาเห็นพิมพ์ที่วัดแล้วเรียกว่าไม่สวยเหมือนที่ตัวเองชอบ ก็จะหล่อพระตะกั่วนี้มาจากบ้านเองเลยและนำมาถวายท่านให้ท่านจารและปลุกเสกให้ พอกะว่าท่านจารและปลุกเสกให้แล้วก็จะมาเอา บางคนทำมา 10 องค์ ก็เอากลับบ้าน 5 องค์ อีก 5 องค์ถวายไว้ให้ท่านสำหรับแจกชาวบ้านคนอื่นที่ยังไม่มีต่อไป เรื่องพระตะกั่วท่านพ่อสุ่นนี้ ต่อมามีกุหร่าคนนี้ ( กุหร่าเป็นเชื้อสายไทยใหญ่ ) ได้มาอยู่ที่วัด กุหร่าผู้นี้เป็นผู้ที่มีฝีมือทางสักยันต์และแกะพิมพ์พระสวยงาม พูดไปก็พูดได้ว่า กุหร่าผู้นี้เป็นผู้แกะพิมพ์พระตะกั่วประจำวัดสมัยมาอยู่ก็ว่าได้ เพราะใครมาเห็นก็ชมว่าแกะพิมพ์สวยงามทุกคน กุหร่าผู้นี้จึงเป็นผู้แกะพิมพ์พระแทบจะคนเดียว และกุหร่าผู้นี้อายุการสร้างต่างกัน ผิวของพระตะกั่วจึงไม่เท่ากัน ถ้าเป็นพระที่สร้างราว พ.ศ. 2450 พระจะออกไขหนาและจะเกิดสนิมแดง แต่จะพบไม่กี่องค์ มาตอนปลายชีวิตท่าน อายุของพระตะกั่วก็อ่อนลงไป มีไขบางๆ เรื่อๆ หรือบางองค์เจ้าของได้มาและไม่ได้ใช้ เลยใส่พานหรือห่มผ้ายันต์ไว้พระก็จะมีคราบตะกั่วอยู่ดูเหมือนว่าจะเป็นพระใหม่ แต่ถ้าส่องกล้องดูความเก่าของตะกั่วก็จะฟ้องตัวเองว่าเป็นพระที่มีอายุ คำนวณอายุพระตะกั่วของท่านถ้าสร้างตอน พ.ศ. 2450 อายุพระตกมาถึงปัจจุบันนี้ก็ 96 ปี ถ้าสร้างระหว่างกลางๆ ชีวิตท่าน คือ พ.ศ. 2460 - 2465 อายุก็ราว 60 กว่าปี ถ้าปลายชีวิตท่านคือ พ.ศ. 2469 - 2470 อายุก็ราว 60 กว่าปี นี่เป็นข้อเปรียบเทียบอายุพระตะกั่วของท่านโดยย่อๆ พระตะกั่วนี้ปลายชีวิตท่านคือ พ.ศ. 2469 - 2470 มีการสร้างน้อยมาก เพราะสุขภาพร่างกายท่านย่ำแย่ทรุดโทรมลง

สรุปแล้วพระตะกั่วของท่านที่เเกะพิมพ์โดยกุหร่า จะสวยกว่าพิมพ์ที่แกะโดยลูกพระในวัด และที่ชาวบ้านแกะมา และการจารของพระท่านก็หาข้อยุติยาก เช่นว่า บางทีพิมพ์เดียวกัน องค์หนึ่งลงเหล็กจาร อีกองค์หนึ่งไม่ลงเหล็กจารก็มี หรือบางทีพิมพ์เดียวกัน 3 - 4 องค์ จารไม่เหมือนกันก็มี และเคยเจอพระตะกั่วหลวงพ่อสุ่น พิมพ์เดียวกัน 3 - 4 องค์ แต่ตัดองค์พระไม่เหมือนกันก็มี คือตัดปลายบนองค์พระยาวกว่ากันบ้าง สั้นกว่า กันบ้าง เป็นต้น เพราะเนื้อตะกั่วเป็นเนื้อที่อ่อนง่าย บางทีหยอดตะกั่วลงในพิมพ์หนาบ้าง บางบ้าง และก็มีเหมือนกันที่เคยเจอพระตะกั่วพิมพ์ที่มียันต์นูนในตัวโดยไม่จารแต่พบน้อยมาก น้อยจนแทบไม่มี และทำพระกันมากในช่วงที่เสือจ๋ายอยู่กันมาก เรียกว่ามาขอพระจากท่านสำหรับไว้ป้องกันเสือจ๋ายก็ว่าได้ เพราะชาวบ้านพากันกลัวเกรงเสือจ๋ายยิงนัก

การจารพระตะกั่วของท่าน การจารองค์พระถ้าองค์ไหนมีจารจะจารมาก องค์ไหนถ้าไม่จารก็ไม่จารเลย หรือบางองค์พิมพ์เดียวกัน 3 - 4 องค์ จารทั้งหน้าทั้งหลัง บางองค์จารหลังไม่จารหน้า และเคยเจอพระพิมพ์เดียวกัน 10 กว่าองค์ไม่ลงเหล็กจารเลยสักองค์เดียวก็มี ฉะนั้นจึงเป็นการยากพอสมควร ในการจดจำพระของท่าน

อ่านต่อ ท่านพ่อสุ่นมรณะภาพ

 
วัดปากน้ำแหลมสิงห์ ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
www.watpaknamlaemsing.org Copyright © 2011