ท่านพ่อสุ่น ธมฺมสุวณฺโณ
เดินทางลงเรือหนีไปบางกะสร้อย
นิมนต์ท่านพ่อสุ่นเป็นเจ้าอาวาส
เมื่อกลับมาเป็นเจ้าอาวาส
ฝรั่งเศสยิงไก่
ฝรั่งเศสลูบหัว
เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน
ฝรั่งเศสขโมยพระพุทธรูปต้มน้ำกิน
ชกฝรั่งเศสสลบ
ฝรั่งเศสเชิญไปรักษา
หมาท่านพ่อกัดกับหมาฝรั่งเศส
ไก่กระดูกดำ
หมาที่วัดไปกัดหมูชาวบ้าน
เป็นผู้มีอาคมทางเมตตายิ่งนัก
วาจาประกาศิต
เลือดรักชาติ
ยิงกระสุนโค้ง
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาวัด
เกี่ยวพันกับหลวงพ่ออี๋
โดนเลื่อยล้อเกวียน
นายอุปถัมภ์ลูกศิษย์เอก
บุญบารมีสูงยิ่ง
เป็นผู้มีอำนาจยิ่งนัก
ลูกศิษย์ท่านพ่อไปชลบุรี
กรมหลวงชุมพรเคยมาหา
ลูกศิษย์เป็นเสือ
พิธีปลุกเสกตะกรุดของท่านพ่อสุ่น
พระตะกั่ว
ท่านพ่อสุ่นมรณะภาพ
   

 

 
 

ปากน้ำแหลมสิงห์ในอดีต :: ประเพณีการทำบุญกลางทุ่ง

 
 
ภาษาของคนปากน้ำแหลมสิงห์ โรงพักและตำรวจสมัยก่อน หน้าฝนที่แหลมสิงห์ อาชีพเลี้ยงเป็ด
อาหารหลักของเป็ด เล้าเป็ด หน้าหนาว เล่นว่าว ประเพณีการทำบุญกลางทุ่ง

ประเพณีการทำบุญกลางทุ่ง เป็นวัฒนธรรมหนึ่งที่ดีงามของของท้องถิ่นที่ได้ทำสืบทอดกันต่อมานับเนื่องเป็นเวลาร้อยไปมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น ทำบุญกลางทุ่ง-ทำบุญกลางหมู่บ้าน-ทำบุญส่งเนิน แต่มีเป้าหมาย อันเดียวกันคือทำบุญเพี่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว สถานที่ใช้ทำบุญก็แล้วแต่โอกาส จะเป็นกลางทุ่งนากหรือกลางหมู่บ้านหรือบนเนินก็ได้ แต่จะไม่ใช้ทำในบ้านหรือในอาคารถาวร บางแห่งมีการสืบทอดโดยมิได้ขาด การทำบุญแม้แต่ปีเดียว บางแห่งก็มีการขาดหายไปบ้างแบะก็ได้รับกาฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ โดยการรวมตัวของผู้ที่เห็นความสำคัญ ของประเพณีอันดีงามอย่างนี้

ตำบลปากน้ำฯ ถือว่าเป็นตำบลหนึ่งที่มีการทำบุญกลางหมู่บ้านอยู่หลายหมู่บ้าน (ตำบลปากน้ำฯมีด้วยกัน ๑๖ หมู่บ้าน) มิได้มีการทำบุญครบทั้ง ๑๖ หมู่บ้าน หมู่บ้านที่การทำบุญกันอยู่เป็นประจำทุกปี คือ ปลายเนิน, แถวกลางไกล, คลองกลอย, ตลาด, ป่าแสม, แถวกลาง, ชายหาด เรียงตามลำดับ บางแห่งก็ทำบุญกันกลางทุ่ง(ทุ่งนา) บางแห่ง ก็ทำบุญกันบนเนิน(เนินดิน) บางแห่ง ก็ทำบุญกันกลางหมู่บ้าน บางแห่งก็ทำบุญกันริมชายหาด แล้วแต่สถานที่จะอำนวย โดยวันเวลาและสถานที่จะถูกกำหนดตายตัวเป็นประจำปีไม่มีการเปลี่ยนแปลง (อาจเปลี่ยนแปลงบ้างในส่วนของสถานที่แต่ก็จะใกล้เคียงกัน) การนิมนต์พระก็จะนิมนต์ประจำปีเลย พอถึงวันเวลาก็จะมาร่วมงานโดยที่ไม่ต้องนิมนต์พระอีก (นิมนต์หมดวัด) บางแห่งก็นิมนต์ไว้ ๑ วัด บางแห่งก็นิมนต์ ๒ วัด แล้วแต่สถานที่ที่จะอยู่ในเขตไหน โดยก่อนถึงวันงาน หัวเรียวหัวแรงก็จะมาช่วยกันยกปะรำ จัดสถานที่ ขนจานชามให้พร้อม ตอนเย็นก่อนวันทำบุญ พระสงฆ์ที่นิมนต์ไว้ก็จะเดินทาง มาทำพิธีสวดพระพุทธมนต์เย็น ก็จะมีประชาชนใกล้เคียง มาฟังพระสวดมนต์จนจบก็เสร็จพิธี แยกย้ายกันกลับบ้าน

ตอนเช้าประมาณ ๖ โมงเช้า ประชาชนก็จะทยอยมาร่วมทำบุญโดยหิ้วปิ่นโตมีข้าว กับข้าว ขนมและดอกไม้ธูปเทียนมาร่วมทำบุญ มีการจดรายชื่อที่ล่วงลับไปแล้วใส่กระดาษ รวมกันในที่จัดไว้เพื่อรอเวลาพระสงฆ์พิจารณาบังสุกุล หลังจากที่จัดกับข้าวเสร็จแล้ว พระสงฆ์จะสวดมนต์เช้า มีการกล่าวถวายภัตตาหารเพื่ออุทิศส่วนกุศล พระสงฆ์บังสุกุลกระดาษ รายชื่อผู้ล่วงลับ นำกระดาษไปเผาไฟ พระสงฆ์ให้พร กล่าวคำแผ่เมตตา ก็เสร็จพิธี ต่อไปพระสงฆ์ฉันภัตตาหาร คนที่มาทำบุญก็จะร่วมรับประทานอาหาร และแยกย้ายกันกลับบ้าน เตรียมอาหารมาถวายพระตอนเพลอีกมื้อหนึ่ง ก็จะเสร็จพิธีการทำบุญกลางทุ่ง

บางแห่งที่พื้นที่ใกล้ทะเลก็จะทำเป็นรูปเรือ เอากับข้าวกับปลาที่เหลือจาการใส่บาตรนำมาใส่ในเรือ รวมถึง ข้าวของสิ่งต่างๆ พอเสร็จพิธีทางสงฆ์ก็จะช่วยกันแห่เรือนำลงทะเลไปลอยที่ทะเล เป็นลักษณะของการปล่อยทุกข์ปล่อยโศก และปล่อยอาหารเหล่านี้เป็นทานแก่สัมพเวสีต่างๆ บางแห่งก็มีการก่อเจดีย์ทราย จุดธูปจุดเทียนบูชาที่เป็นที่สวยงาม ถือว่าเป็นธรรมเนียมปฎิบัติที่ลูกหลานควรจะสืบทอดต่อไป

ประเพณีทำบุญกลางทุ่งนั้น ไม่มีผู้ใดยืนยันได้ว่าเกิดขึ้นแต่ครั้งไหน แต่ผู้เขียนขอกล่าวอ้างเรื่องๆ หนึ่งหลัง ครั้งพุทธกาล คือ เรื่องพระมาลัย มีอยู่ในพระมาลัยเถรสูตร ได้มีการกล่าวถึงการทำบุญกลางหมู่บ้านเอาไว้อย่างนี้ว่า เมื่อครั้งหลังพุทธกาลมีพระเถระรูปหนึ่ง ชื่อว่าพระมาลัย
มีอิทธิฤทธิ์บุญญาภินิหารมาก ออกเดินทางโปรดเวไนยสัตว์ต่างๆ ตามแว่นแคว้นหมู่บ้านทั่วไปแต่ละหมู่บ้านที่เดินทางไปโปรดก็จะมีประชาชนทั้งชายหญิงมาคอยต้อนรับเป็นจำนวนมาก และจะมีโอกาสฟังธรรมจากพระเถระซึ่งพระมาลัยก็ได้แสดงธรรมถึงบุญทานกุศลแบะการเกิดแก่เจ็บตายในที่สุด หลังจากแสดงธรรมจบ ก็มีพุทธบริษัทที่สงสัยในธรรม ถามข้อธรรมว่า ตายแล้วไปไหน ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วอยู่ดี หรือไม่อย่างไร แล้วถ้าตกอยู่ในทุกข์ทำอย่างไรจึงจะให้พ้นทุกข์ได้ ไปแสดงธรรมกี่แห่งๆ พระมาลัยก็ได้ยินคำถามนี้ จึงบอกว่า เราจะไปหาพญายมราชเพื่อสอบถามกิจทั้งปวงที่ท่านทั้งหลายได้สงสัย จึงได้สำแดงอิทธิฤทธิ์ลงสู่นรกภูมิ

พญายมราชเห็นพระมาลัยมาหา ก็ได้กราบนมัสการยังที่อันควร จึงได้ถามว่าพระมาลัยมีธุระอะไร หรือไม่ พระมาลัยก็ได้พูดถึงยังมนุษย์โลกว่ายังมีความเคลือบแคบงสงสัยว่า ตายแล้วไปไหน อยู่ดีปรือไม่ ตกทุกข์แล้วจะช่วยอย่างไร ดังนั้นแล้วพญายมราชก็ได้พาพระมาลัยไปเยี่ยมชมนรกภูมิทั้ง ๑๕ ขุมเห็นถึงความทุกข์ทรมานของสัตว์นรกขุมต่างๆ ที่ร้องครวญครางอย่างน่าสงสาร พระมาลัยได้ถามพญายมราชว่า ทำอย่างไรถึงจะช่วยสัตว์เหล่านี้ให้พ้นทุกข์ได้ พญายมราชตอบว่า มีอยู่ประการหนึ่งที่จะช่วยผ่อนหนัก ให้เป็นเลาได้ คือ การทำบุญ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลมาให้ แต่การทำบุญในครั้งนี้ จักต้องเป็นการทำบุญกลางหมู่บ้าน ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง เป็นการรวมพลังเพื่อให้เกิดเป็นบุญเป็นกุศล อันยิ่งใหญ่และตั้งใจอุทิศ มาให้ยังสัตว์นรก ก็จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ พระมาลัยทราบดังนั้นก็ได้ลาพญายมราชกลับมายังโลกมนุษย์ และบอกข่าวคราวต่างๆให้กับพุทธบริษัทเพื่อทราบ และกลับไปดำเนินการทำบุญตามหมู่บ้านต่างๆ

นี่เป็นส่วนหนึ่งจากข้อความในพระมาลัยเถระสูตร ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำบุญ

โดย นายจีรประทีป ทองเปรม
ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอแหลมสิงห


 
วัดปากน้ำแหลมสิงห์ ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
www.watpaknamlaemsing.org Copyright © 2011